หลักการ-ประโยชน์ จากชี่กง

                      

ชี่กง พลังบำบัด

 

ชี่กง ต้นกำเนิด เกิดจากองค์สังฆปรินายกองค์แรกของนิกายเซ็น ซึ่งเป็นพระสงฆ์จากอินเดีย เดินทางไปประเทศจีนได้นำเอาวิธีการ

เดินลมปราณของโยคะ ผสมผสานเข้ากับกายบริหารแบบไท้เก๊กเกิดเป็นระบบชี่กง (บริหารกาย บริหารจิต บริหารลมปราณ) ขึ้น

 

ชี่กง  “ชี่.”  ภาษาจีน คือ ลม ไอ พลัง หรือสิ่งให้ชีวิตหรือสรรพาสิ่งดำรงอยู่ หรือคือ พลังชีวิต  ซึ่งเป็นพลังภายในนั่นเอง   ส่วนคำว่า 

 “กง”  หมายถึงวิชา ฝีมือ ความสามารถ ความชำนาญ ซึ่ง กง ได้มาจากการฝึกฝน ชี่กง จึงหมายถึง พลังที่ได้จากการฝึกฝน  โดยผ่าน

การบริหารกาย  บริหารลมหายใจ และบริหารจิต  เมื่อสามส่วนประสานกัน  จึงทำให้เกิดความสมดุลทั้งกายและจิต  ดังนั้น หัวใจสำคัญ

ของชี่กง คือการฝึกจิตและกายไปพร้อมกัน ซึ่งถ้าไม่ฝึกจิตแล้วชี่กงจะเป็นแค่กายบริหารธรรมดาเท่านั้น

 

ชี่กง เป็นการเคลื่อนไหวทางกายภาพ ผสมผสานการหายใจกับการกำหนดจิตเข้าไว้ด้วยกัน คือการฝึกพลัง ซึ่งพลังที่ได้มาจากการ

ฝึกฝน เป็นการฝึกที่นำธรรมชาติรอบกายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยอาศัยอากาศธรรมชาติเข้าไปเพื่อปรับแต่งอวัยวะภายใน สามารถ

รักษาโรคหลากหลายต่างๆได้ ตามท่าฝึก ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว

 

ชี่กง  แบ่งเป็น 2 แบบ คือ ระบบการปฏิบัติเพื่อป้องกันและรักษาโรค และระบบการต่อสู้และป้องกันตัว (กำลังภายใน) ในการฝึกกาย

บริหารควรฝึกบริหารการหายใจควบคู่ไปด้วย โดยการฝืนหายใจยาวๆโดยใช้กระบังลม เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนสูงสุด    การ

หายใจที่ถูกต้องนำไปสู่การเก็บเกี่ยวพลังงานรอบตัวเรา รวมทั้งพลังจักรวาลเข้ามาสะสมไว้ในตัว เพื่อใช้ป้องกันโรค / รักษาตัวเอง 

  และผู้อื่นจากการเจ็บป่วย หรือนำไปใช้ต่อสู้ป้องกันตัวเองจากศัตรูได้ด้วย

 

ชี่กงสามารถบริหารร่างกายทุกส่วน

 

  1. ข้อต่อต่าง ๆ เช่น คอ กระดูกสันหลัง หัวไหล่ ข้อศอก มือ นิ้วมือ เอว ตะโพก หัวเข่า ข้อเท้า นิ้วเท้า                              ล้วนได้รับการบริหารทั้งสิ้น

  2. กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย มีการหดเกร็งและเหยียดยืด ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและผ่อนคลายกล้ามเนื้อแขน / ขา กล้ามเนื้อแผงคอ กล้ามเนื้อแผ่นหลัง กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อทวารทั้ง 3 (หลอดปัสสาวะ ช่องคลอด ทวารหนัก รวมเรียกว่า Kegel Exercise) กล้ามเนื้อที่ใช้กลอกตาต่างก็ได้รับการบริหารทั้งสิ้น

  3. เส้นเอ็นต่าง ๆ โดยเฉพาะเส้นเอ็นในฝ่ามือ ที่ช่วยทำให้นิ้วมือมีการทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ

     

     ประโยชน์จากการฝึกชี่กง

 

          ประโยชน์ของการฝึกชี่กงเมื่อผู้ฝึกฝึกและปฏิบัติอย่างจริงจัง จะสามารถขจัดต้นตอของโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างรวดเร็ว  ทำให้

สุขภาพกายแข็งแรงสุขภาพจิตเบิกบาน และร่างกายอ่อนเยาว์ขึ้น  


   1. ศรัทธาและเชื่อมั่น  ชี่กงสามารถขจัดโรคภัยไข้เจ็บออกจากร่างกายจนหมดสิ้น และสามารถทำให้สุขภาพแข็งแรง

   2. คลายเครียดแก้ปัญหานอนไม่หลับในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

   3. ความดันจะลดลงโดยไม่ต้องใช้ยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองและหัวใจตีบตันเร็ว

   4. ทำให้ปอดแข็งแรง

   5. ป้องกันโรคกระดูกผุ

   6. ป้องกันการปวดคอ ปวดหลัง ปวดเข่าและปวดข้ออื่น ๆ จะมีการทรงตัวดี ไม่หกล้มง่าย

   7. ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก

   8. รักษาอาการทางร่างกาย และอารมณ์ที่เกิดในวัยหมดประจำเดือน

   9. ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง

   10.ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) ของผู้ฝึกชี่กงสม่ำเสมอ มีการไหลเวียนเร็วขึ้น ทำให้สามารถกำจัดของเสีย             ของร่างกายได้เร็วขึ้น ทำให้ภูมิคุ้มกันทั้งจากน้ำเหลืองและเม็ดเลือดขาวเพิ่มขีดความสามารถสูงขึ้น

   11.สามารถจำกัดได้ทั้งเชื้อโรค ไวรัสและเซลล์ที่ผิดปกติ สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมทั้งเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   12.อาการโรคภูมิแพ้มักดีขึ้น หรือหายไปถ้าฝึกชี่กงอย่างสม่ำเสมอ

   13.ฟื้นจากการผ่าตัด / การเจ็บไข้เร็วขึ้น

   14.ลดการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

   15.ส่งเสริมบุคลิกภาพและหน้าตาอ่อนกว่าอายุ

   16.สมาธิและความจำดี

   17.การฝึกชี่กงอย่างเป็นกลุ่มหรือชมรม จะช่วยสร้างความอบอุ่น สร้างมิตรภาพระหว่างผู้ฝึก และสร้างทรรศนะคติที่ดี และหันมาสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายด้วย

 

หลักในการฝึกชี่กง

 

-         การฝึกฝนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้ทีเป็นโรคเรื้อรัง ควรหมั่นฝึกฝนทุกวัน

-         ไม่ควรฝึกในขณะร่างกายไม่พร้อม  ขณะโกรธ  หลังดื่มสุรา  ที่ที่อากาศไมริสุทธิ์ หรือหลังรับประทานอาหาร ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

-         หลังฝึกไม่ควรอาบน้ำเย็น ควรอาบน้ำอุ่น หลังจากฝึกแล้วครึ่งชั่วโมง ควรหาน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่นสักแก้ว ดื่มก่อนและหลัง        การฝึก ไม่ควรดื่มหรือเครื่องดื่มน้ำเย็น

-         การหาวนอน เรอ ผายลม หรือท้องเดิน ในขณะฝึกถือเป็นเรื่องปรกติ หรือบางคนพบว่าอาการของโรครุนแรงขึ้นไม่ต้องตกใจเนื่องจากพลังที่เกิดไปปะทะถูกแหล่งกำเนิดโรคเข้า  ทำให้อาการรุนแรง ควรฝึกไปเรื่อยๆอาการจะดีขึ้น

-         ขณะฝึก  หากต้องการหยุดการฝึก  ต้องฝึกท่ายุติทุกครั้งจึงจะเลิกฝึกได้

-         การฝึกจะทำให้พลังสมบูรณ์ขึ้น ดังนั้นจึงควรควบคุมเรื่องเพศสัมพันธ์ให้เหมาะสม  

-         ทำจิตให้เบิกบาน มีสัมมาคารวะต่อครูบาอาจารย์หรือผู้ฝึกสอน สามัคคี และแลกปลี่ยนความรู้ต่อเพื่อนรร่วมฝึก และหมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  เพื่อพลังฝึกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

 

 


Visitors: 27,192